วันเสาร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2558

เนื้อหาวงดนตรีสากลต่างๆ


                                     
                             

     ก่อนยุคคลาสสิก บทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นสำหรับการบรรเลงโดยเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ ยกเว้น ประเภทคีย์บอร์ดแล้ว จะมิได้มีการกำหนดขนาดของวงดนตรีที่จะใช้บรรเลงไว้ ส่วนในยุคบาโรคบทเพลงต่างๆก็มิได้มีการบ่งบอกไว้แน่ชัดว่าเป็นบทเพลงร้อง บรรเลง หรือทั้งร้องทั้งบรรเลง ครั้งต่อมาเมื่อวงออร์เคสตร้าเริ่มเป็นมาตรฐานขึ้น ผู้ประพันธ์เพลงจึงมีบทเพลงสำหรับวงออร์เคสตร้า อันได้แก่ “ซิมโฟนีคอนแชร์โต” และบทเพลงสำหรับวงดนตรีเล็ก ที่เรียกว่า “เชมเบอร์มิวสิก” (Chamber Music)ขึ้น
ประวัติของเชมเบอร์มิวสิก



ในความหมายปัจจุบัน เชมเบอร์มิวสิก หมายถึง บทเพลงสำหรับบรรเลงโดยวงดนตรีเล็ก ๆ โดยผู้บรรเลงแนวดนตรี แต่ละแนวจะใช้เพียงคนเดียว รูปแบบเช่นนี้จัดว่าได้รับการพัฒนาขึ้นในยุคคลาสสิก โดยไฮเดิน โมซาร์ท และเบโธเฟน ก่อนหน้านี้ คือ ในราวศตวรรษที่ ๑๖ ความหมายของ เชมเบอร์มิวสิกมิได้หมายความเช่นนี้ ในยุคนั้น มีการจัดแบ่งดนตรีเป็น ๓ ลักษณะตามวัตถุประสงค์ของการใช้ดนตรีในสังคมโดยรูปแบบของ การประพันธ์ คือ เชมเบอร์มิวสิก จะหมายถึง ดนตรี ของคฤหัสถ์ ที่บรรเลงตามบ้านซึ่งต่างจากดนตรีโบสถ์ ที่บรรเลงในวัด และดนตรีประกอบการแสดงบนเวทีที่บรรเลงในโรงละคร เช่น โอเปราเชมเบอร์มิวสิก ในความหมายนี้รวมไปถึงเพลงร้องและเพลงบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีไม่กี่ชิ้นไปจนถึงออร์เคสตร้าขนาดเล็ก ซึ่งเป็นรูปแบบที่มีอยู่ในยุคนั้น ต่อมาในศตวรรษที่ ๑๘คือยุคคลาสสิกตอนต้นการพัฒนารูปแบบของออร์เคสตร้าเกิดขึ้นโดยขนาดของวงเริ่มใหญ่ขึ้นเป็นลำดับ จนกลายเป็นวงออร์เคสต้าขนาดใหญ่ ครั้นตอนปลายยุคคลาสสิก ต่อเนื่องกับตอนต้นยุคโรแมนติก ความแตกต่างของวงออร์เคสตร้าจึงต่างจากวงดนตรีเล็ก ๆ ที่บรรเลงโดยนักดนตรี ไม่กี่คนอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้น ความหมายของ “เชมเบอร์มิวสิก” จึงได้เปลี่ยนมาเป็นเพลงที่ใช้วงเล็ก ๆบรรเลง และกลายเป็นเพลงอีกประเภทหนึ่งที่มีจุดเน้นต่างไปจากการบรรเลงโดยวงออร์เคสตร้า และมีผู้ประพันธ์เพลงนิยมประพันธ์เพลงให้วงเล็ก ๆ เหล่านี้ได้บรรเลง เช่นเดียวกับที่มีนักประพันธ์เพลงประพันธ์เพลงใหญ่ๆ เช่น ซิมโฟนี ให้วงออร์เคสตร้าได้บรรเลงอย่างไรก็ดี นักดนตรีในยุคโรแมนติกบางคนมักให้ความสนใจกับวงออร์เคสตร้ามากกว่า เพราะสามารถแสดงอารมณ์หรือความรู้สึกต่างๆ ได้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแสดงความมีพลังความจริงจัง ความยิ่งใหญ่ ซึ่งเป็นจุดเน้นสำคัญประการหนึ่งในยุคโรแมนติก ผู้ประพันธ์ดนตรีเหล่านี้ ได้แก่ ลอสซท์ สเตราส์ และบรูคเนอร์ เป็นต้น ไม่สนใจประพันธ์เพลงประเภทเชมเบอร์มิวสิกเลย ต่างจากผู้ประพันธ์เพลงบางคนซึ่งมักเป็นชาวเยอรมันที่ให้ความสนใจทั้งเพลงสำหรับออร์เคสตร้า และเพลงประเภทเชมเบอร์มิวสิก ผูประพันธ์เพลงเหล่านี้ได้แก่ ชูเบร์ต เมนเดลซอน ชูมานน์ บราห์มส์ และดวอชาด เป็นต้นในศตวรรษที่ ๒๐ ยังคงมีนักประพันธ์เพลงเป็นจำนวนมากให้ความสนใจกับเพลงเชมเบอร์มิวสิก และมีผลงานเพลงทั้งประเภทเชมเบอร์มิวสิกและออร์เคสตร้าด้วย เช่น บาร์ตอค โชนเบิร์ก คาร์เตอร์บลอควิลล-โลโบส และ ชอสตราโกวิช เป็นต้น
ลักษณะของเชมเบอร์มิวสิก
เพลงประเภทเชมเบอร์มิวสิก เหมาะสำหรับการบรรเลงในบ้านหรือคฤหัสถ์ ในยุคคลาสสิกซึ่งผู้จัดงาน มีแขกพอประมาณ จะจัดให้มีการบรรเลงอันเป็นการแสดงส่วนหนึ่งในงานเลี้ยง เพราะการบรรเลงเพลงประเภทเชมเบอร์มิวสิกใช้ผู้บรรเลงไม่กี่คน ซึ่งเหมาะกับการงานมากกว่าการใช้วงออร์เคสตร้าที่ต้องใช้ห้องใหญ่และคนบรรเลงเป็นจำนวนมากเพลงประเภทเชมเบอร์มิวสิกใช้ผู้เล่นเพียงคนเดียวต่อแนวทำนองหรือแนวประสานในบทเพลง ซึ่งต่างไปจากการบรรเลงโดยวงออร์เคสตร้าที่ให้สีสันและมีพลังมากกว่า อย่างไรก็ดี วงเชมเบอร์มิวสิก ก็ให้ความเด่นชัดของเสียง และอารมณ์ไปอีกแบบหนึ่งบทเพลงร้องโดยปกติจะ ไม่จัดเป็นเชมเบอร์มิวสิก ยกเว้นในยุคก่อนยุคคลาสสิก ซึ่งบทเพลงร้องประเภทเชมเบอร์มิวสิกสามารถพบได้เสมอ แต่ในยุคคลาสสิกเมื่อพูดถึงเชมเบอร์มิวสิก จะหมายถึง บทเพลงที่บรรเลงโดยเครื่องดนตรีล้วน ๆ เสมอ

การฟังเพลงประเภทเชมเบอร์มิวสิกต้องการความรู้ความเข้าใจเช่นเดียวกับการฟังเพลงคลาสสิกประเภทอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเพลงประเภทนี้ใช้ผู้เล่นเพียงไม่กี่คน ย่อมไม่สามารถสร้างอารมณ์ความรู้สึกของดนตรีได้อย่างเพลงที่บรรเลงโดยวงออร์เคสตร้า เช่น ความมีพลัง สีสัน หรือเสียงของ วงประสานเสียงที่ร้องไปกับวงออร์เคสตร้า ทำให้รู้สึกยิ่งใหญ่ มโหฬาร แต่สิ่งที่จะได้รับจากเพลงประเภทเชมเบอร์มิวสิก จะเป็นในลักษณะลักษณะของเสียงดนตรีที่แท้จริง ในด้านคุณภาพของการเล่น เพราะถ้ามี ผู้เล่นผิดพลาดจะได้ยินอย่างเด่นชัด ฉะนั้น การบรรเลงประเภทนี้ ผู้บรรเลงต้องมีความถูกต้อง และสามารถถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของเพลงได้อย่างกระจ่างแจ่มชัดแจ้งจริง ๆ นอกจากนี้ ความเป็นหนึ่งในการบรรเลงเพลงซึ่งเป็นความหมายของคำว่า Ensemble คือ ความพร้อมเพียงของผู้บรรเลง เป็นสิ่งที่การบรรเลงเพลงประเภทนี้ต้องการเป็นอย่างยิ่ง ไม่ใช่เฉพาะความถูกต้องในการบรรเลงของแต่ละคนเท่านั้น ความถูกต้อง ความเป็นหนึ่งของทั้งวง ย่อมจะต้องมีอยู่อย่างครบครัน สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ได้จาการฟังเพลงประเภทเชมเบอร์มิวสิก ซึ่งต่างไปจากเพลงที่บรรเลงโดยวงออร์เคสตร้าโดยปกติการผสมวงแบบเชมเบอร์มิวสิก จะมีนักดนตรีตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป จนถึง ๙ คน และวงดนตรีจะมีชื่อต่าง ๆ ตามจำนวนของผู้บรรเลง เช่น
ผู้บรรเลง ๒ คน เรียก ดูโอ (Duo) เช่น เล่น Violin กับ Piano ฯลฯ
ผู้บรรเลง ๓ คน เรียก ทริโอ(Trio) เช่น เล่น Piano ๓ หลัง หรือ Piano ๒ กับ Flute ฯลฯ
ผู้บรรเลง ๔ คน เรียกว่า ควอเทท (Quartet) เช่น String Quartet ประกอบด้วยไวโอลิน ๒ คัน
วิโอลา ๑ คัน และ เชลโล ๑ คัน
ผู้บรรเลง ๕ คน เรียกว่า ควินเทท (Quintet) เช่น บทบรรเลง Quintet For two Pianos, Cello and Violin, etc.
ผู้บรรเลง ๖ คน เรียกว่า เซ็กเทท (Sextet)
ผู้บรรเลง ๗ คน เรียกว่า เซ็พเทท (Septet)
ผู้บรรเลง ๘ คน เรียกว่า อ็อคเทท (Octet)
ผู้บรรเลง ๙ คน เรียกว่า โนเนท (Nonet)
สุนทรีย์ของเชมเบอร์มิวสิก
เชมเบอร์มิวสิกเป็นการบรรเลงเพลงโดยวงเล็กๆ จึงมีความแตกต่างจากออร์เคสตร้าโดยสิ้นเชิงสุนทรีย์ของเชมเบอร์มิวสิกมุ่งไปสู่ความเด่นชัดของสีสันของเครื่องดนตรีสำหรับวงเล็ก ๆ ประเภททริโอ ควอเทท ควินเทท จนถึงวงประเภท ๗-๘ คนเท่านั้น ดังนั้นความเด่นชัดของเครื่องดนตรีแต่ละประเภทจึงเป็นเอกลักษณะเฉพาะของเพลงประเภทนี้ นอกจากนั้น การประสานความสัมพันธ์ในการบรรเลงเพลงจนเป็นหนึ่งเดียวกันก็เป็นเสน่ห์ที่ผู้ฟังจะได้สัมผัสกับดนตรีประเภทเชมเบอร์มิวสิก เพราะแต่ละวงจะมีการซ้อมกันอย่างดี จนบรรเลงร่วมกันอย่างรู้ใจ คล้ายกับเป็นเครื่องดนตรีเพียงเครื่องเดียวที่มีความหลากหลาย ด้วยเหตุนี้สุนทรีย์ของเชมเบอร์มิวสิกจึงอยู่ที่ความเด่นชัด ยอดเยี่ยมของผู้บรรเลงซึ่งนำเสนอจากโสตศิลป์ อันเป็นการสร้างสรรค์ของผู้ประพันธ์เพลง แม้ความมีพลัง ความยิ่งใหญ่ เช่นวงออร์เคสตร้า จะหาไม่ได้จากวงเชมเบอร์มิวสิก แต่ความเด่นชัดเฉพาะตัวของเสียงเครื่องดนตรีแต่ละเครื่อง กลับเป็นความงดงามที่เชมเบอร์มิวสิก สามารถให้กับผู้ชมได้อย่างเต็มเปี่ยมการสอดประสานสัมพันธ์ และการบรรเลงเป็นผู้นำสอดสลับรับกันไปของเครื่องดนตรีแต่ละเครื่องในวงเชมเบอร์มิวสิกเป็นความสวยงามอีกประการหนึ่งที่ผู้ฟังเพลงประเภทนี้จะได้รับ ส่วนในการฟังเพลงเชมเบอร์มิวสิกประเภทสตริงควอเททมิได้นำเสนอสีสันที่แตกต่างมากนักเพราะเครื่องดนตรีแต่ละเครื่อง คือเครื่องสาย ลีลาของเพลง จังหวะ ท่วงทำนองเทคนิคของการบรรเลง และองค์ประกอบดนตรีอื่น ๆเป็นความเฉพาะตัว และเป็นสุนทรีย์ของสตริงควอเททสำหรับวงประเภทอื่นๆ ที่มีดนตรีประเภทอื่นเข้ามาผสม เช่น
เปียโนควินเทท คลาริเนทควินเทท เปียโนทริโอ เป็นต้น ย่อมให้สีสันเพิ่มขึ้นผู้ฟังจึงสามารถสรรเลือกฟังเพลงประเภทเชมเบอร์มิวสิกที่หลากหลายได้ส่วนวงดนตรีประเภท เชมเบอร์ออร์เคสตร้า ที่มักจะมีเฉพาะเครื่องสายเท่านั้น ได้แก่ ไวโอลิน วิโอลา เชลโล และดับเบิลเบส และมีผู้บรรเลงประมาณ ๑๖-๒๐ คน เป็นเชมเบอร์มิวสิกอีกประเภทหนึ่งที่น่าฟัง เพราะจะมีความมีพลังของออร์เคสตร้าปรากฏอยู่ แม้จะไม่มากเท่ากับวงออร์เคสตร้าโดยตรง ขณะเดียวกันก็มีความเด่นชัดของเครื่องดนตรีบ้าง แม้จะเทียบกับวงเชมเบอร์มิวสิกวงเล็ก ๆไม่ได้ แต่เป็นความลงตัวที่อยู่ระหว่างเพลงทั้งสองประเภท จึงมีความน่าสนใจและมีสุนทรีย์ในตัวเองอย่างเด่นชัดเช่นกันความเข้าใจในองค์ประกอบของดนตรี และความเข้าใจในเพลงเชมเบอร์มิวสิกประเภทวงเล็ก ๆ เป็นรากฐานสำคัญในการฟังเพลงประเภทนี้ให้เข้าถึงสุนทรีย์และความซาบซึ้ง ผู้ประสงค์จะฟังเพลงประเภทนี้ จึงควรศึกษาหาความรู้เรื่องเชมเบอร์มิวสิกมากพอสมควรในระยะเริ่มต้นของการฟัง เพื่อพัฒนาการรับรู้ของตนเองให้เข้าถึงสุนทรีย์ของเชมเบอร์มิวสิกอย่างถ่องแท้ต่อไป


_________________________________________________________________________________




เทคโนโลยี่ในศตวรรษที่ 19

ยังเป็นสิ่งที่ไม่ก้าวหน้าไปจากเดิมเท่าใดนัก เรามีนาฬิกาที่ทำเพลงได้และกล่องดนตรี (Musical Box) แต่นักฟังทั้งหลายก็ยังต้องออกจากบ้านไปฟังตามสถานที่ต่าง ๆ เช่นห้องบอลรูมในราชสำนัก เป็นต้น จนกระทั่งปี ค.ศ. 1877 เมื่อโธมัส เอดิสัน ค้นพบจานเสียงที่ทำด้วยแผ่นดีบุกทรงกระบอก และพัฒนาจนเป็นแผ่นเสียง (Phonograph) เช่นในปัจจุบัน ทำให้เกิดการปฏิวัติทางดนตรีก็ว่าได้ ดนตรีสามารถฟังที่บ้านได้ ต่อมาเมื่อปลายศตวรรษที่ “ Daid Caruso “ นักร้องเสียงเทนเนอร์ (Tenor) ผู้ยิ่งใหญ่ได้เซ็นสัญญากับบริษัทแผ่นเสียง เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1902 และท่านได้รับเงิน 100 ปอนด์เป็นค่าจ้างในการบันทึกเสียง อีก 20 ปีต่อมาแผ่นเสียงที่ท่านได้กลายเป็นเศรษฐี ฐานะของนักดนตรีเริ่มเปลี่ยนไป นักดนตรี นักร้อง กลายเป็นผู้มีชื่อเสียง และเป็นที่ชื่นชอบของคนทั่วโลก ในปี ค.ศ. 1910 เพลงคลาสสิกเป็นที่นิยมฟังกันทั่วโลก (เริ่มจากการอัดแผ่นเสียง) หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1920 ดนตรีแจ๊สก็เป็นที่นิยมตามมา ด้วยเทคโนโลยีอันก้าวไกลได้ทำให้การดูคอนเสิร์ทเป็นสิ่งที่ไม่ใช่เรื่องยาก อีกต่อไป เสียงดนตรีที่ไพเราะและภาพการ แสดงคอนเสิร์ทสามารถหาดูได้ที่บ้าน ทั้งทาง วิทยุ โทรทัศน์ โดยผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น วีดีโอเทป แผ่นซีดี ดีวีดี เป็นต้น เอดิสันได้นำดนตรีมาสู่บ้าน ดนตรีคลาสสิกที่เคยจำกัดอยู่แต่ในราชสำนักในกรุงเวียนนา บัดนี้ได้แพร่หลายไปทั่วโลก คุณค่าแก่การฟังและอนุรักษ์ไว้เป็นสมบัติของมนุษย์ชาติสืบไป


วงซิมโฟนีออร์เคสตร้า (Symphony Orchestra) ในปัจจุบันซึ่งวิวัฒนาการมาจากศตวรรษที่ 18 มีลักษณะโครงสร้างทั่ว ๆไปดังแผนภาพดังนี้




1. วาทยากรผู้ควบคุมวง (Conductor) ผู้กำกับวงดนตรีออร์เคสตร้าหรือวงนักร้องหมู่ ซึ่งเป็นผู้ชี้บอกจังหวะและระยะเวลาในการบรรเลงดนตรี

2. ไวโอลินลำดับที่ 1 - First violin (นักไวโอลินที่นั่งใกล้วาทยากรคือหัวหน้าวงดนตรีหรือ Concert Master ตำแหน่งของนักไวโอลินลำดับที่ 1 จำเป็นจะต้องอยู่ใกล้วาทยากรให้มากที่สุด ตำแหน่งเครื่องเป่าและแตรปกติจะอยู่ระหว่างตำแหน่งต่าง ๆ ของเครื่องสาย)

3. ไวโอลินลำดับที่ 2 - Second violin

4. เชลโล่ - Cello

5. วิโอล่า - Viola

6. ดับเบิลเบส - Double bass

7. อิงลิช ฮอร์น - English horn

8. โอโบ - Oboe

9. ฟลูต - Flute

10. เบส คลาริเนต - Bass clarinet

11. คลาริเนต - Clarinet

12. บาสซูน - Bassoon

13. คอนทรา บาสซูน - Contra Bassoon

14. เฟรนช์ฮอร์น - French Horn

15. แซกโซโฟน - Saxophone

17. ทูบา - Tuba

18. ทรอมโบน - Trombone

19. ทรัมเปต - Trumpet

20. เปียโนหรือฮาร์พ Piano, Harp

21. ทิมปานี - Timpani [(ตำแหน่งเครื่องดนตรีที่อยู่ห่างวาทยากรที่สุดคือ กลุ่มของเครื่องดนตรีประเภทตี - Percussion)

22. ฉาบ - Cymbal

23. เบส ดรัม - Bass Drum

24. ไทรแองเกิ้ล - Triangle

25. กลอง - side หรือ Snare Drum

26. Tubular Bells - ระฆังราว

27.ไซโลโฟน - Xylophone ระนาดฝรั่ง ในบางกรณีที่แสดงเปียโนคอนแชร์โต้ ตำแหน่งของเปียโนจะถูกผลักมาอยู่ข้างหน้า

Chamber music คือดนตรีสำหรับการบรรเลงด้วยเครื่องดนตรี โดยนักดนตรีแต่ละคนจะมีแนวบรรเลงของตนเองต่างจากคนอื่น ๆ ไม่เหมือนกับวงดนตรีสำหรับวงดนตรีออร์เคสตร้า ที่มักจะมีนักดนตรีหลายคนต่อแนวบรรเลงหนึ่งแนว ดนตรีแชมเบอร์มิวสิคนี้ เรียกตามจำนวนคนที่เล่นดังนี้

DUET: สำหรับผู้เล่น 2 คน
TRIO: สำหรับผู้เล่น 3 คน
QUARTET: สำหรับผู้เล่น 4 คน
QUINTET: สำหรับผู้เล่น 5 คน
SEXTET: สำหรับผู้เล่น 6 คน
SEPTET: สำหรับผู้เล่น 7 คน
OCTET: สำหรับผู้เล่น 8 คน
NONET: สำหรับผู้เล่น 9 คน

String Quartet เป็นคีตลักษณ์แบบ Chamber music ที่สำคัญ ประกอบด้วยผู้เล่นไวโอลิน 2 คน วิโอลาและเชลโลอย่างละ 1 คน สำหรับ String trio นั้นจะประกอบด้วยเครื่องสายล้วน ๆ 3 เครื่อง และหากตัดเครื่องดนตรีชิ้นใดชิ้นหนึ่งออกไปแล้วเพิ่มเปียโนเข้าไป 1 หลังจะเรียกว่า Piano trio หรือหากเพิ่มฮอร์นเข้าไปแทน เรียกว่า Horn trio เป็นต้น
อ้างอิง : คลิก
_________________________________________________________________________________





 ใช้บรรเลงตามงานรื่นเริงทั่วไปประกอบด้วย เครื่องดนตรีีกลุ่มแซกโซโฟน, กลุ่มเครื่องทองเหลือง
และกลุ่มเครื่องประกอบจังหวะ
วงป๊อปปูลามิวสิค ส่วนใหญ่มี  3 ขนาด
1.วงขนาดเล็ก (วง 4x4)  มีเครื่องดนตรี  12 ชิ้น ดังนี้
กลุ่มแซ็ก  ประกอบด้วย  อัลโตแซ็ก 1  คัน เทเนอร์แซ็ก 2  คันบาริโทน แซ็ก 1 คัน
กลุ่มทองเหลือง ประกอบด้วย ทรัมเป็ต 3  คัน ทรอมโบน 1 คัน
กลุ่มจังหวะ ประกอบด้วย  เปียโน 1 หลัง กีตาร์คอร์ด 1 ตัว เบส 1  ตัว กลองชุด  1  ชุด
( วง 4 x 4 หมายถึง ชุดแซก 4 ชุด ทองเหลือง 4 ชุดตามลำดับ ส่วนเครื่องประกอบจังหวะ 4
ละไว้ในฐานที่เข้าใจ)
2.วงขนาดกลาง (5x5) มีเครื่องดนตรี 14 ชิ้น  คือ เพิ่มอัลโตแซ็ก และ ทรอมโบน

3.วงขนาดใหญ่ (Big Band )(5 x 7)  มี 16  ชิ้น เพิ่ม ทรัมเป็ต และ ทรอมโบนอย่างละตัว
.ในปัจจุบันใช้กีตาร์เบสแทนดับเบิ้ลเบส และ บางทีก็ใช้ออร์แกนแทนเปียโน

           อ้างอิง : คลิก

 _________________________________________________________________________________


 วงสตริงคอมโบ เป็นวงดนตรีที่ได้คลี่คลายมาจากวงชาโดว์ บทเพลงที่บรรเลงส่วนใหญ่ยังคงเป็นเพลงในแนวดนตรีร็อคเหมือนเดิม เครื่องดนตรีที่นำมาใช้ในการประสมวง ประกอบด้วย กีต้าร์ไฟฟ้า 2 เครื่อง กีต้าร์เบส 1 เครื่องคีย์บอร์ด (เปียโน เปียโนไฟฟ้า ซินธีไซเซอร์) 1 เครื่องกลองชุด 1 ชุด กีต้าร์เป็นเครื่องดนตรีที่มีบทบาทในการบรรเลงมาก ทำหน้าที่บรรเลงทำนองสอดแทรกต่างๆ ทำนองในตอนขึ้นต้นบทเพลง ทำนองล้อรับเสียงขับร้อง โซโล และทำนองท่อนลงจบ กีต้าร์ที่ทำหน้าที่ต่างๆ เหล่านี้เรียกว่า ลีดกีต้าร์        (Guitar Lead) หรือ โซโลกีต้าร์ (Guitar Solo) ส่วนกีต้าร์ที่เหลืออีก 1 เครื่อง จะทำหน้าที่ดีดคอร์ด ประกอบบทเพลงด้วยลีลาต่างๆ เรียกว่า ริธึ่มกีต้าร์ (Guitar Rhythm)วงสตริงคอมโบบางวงอาจจะเพิ่มกลุ่มของนักดนตรีประเภทเครื่องเป่าเข้าไปด้วย ประมาณ 1- 3 คน เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าที่นิยมนำมาประสมวง ได้แก่ ทรัมเป็ท ทรอมโบน และแซ็กโซโฟน


อ้างอิง : คลิก


_________________________________________________________________________________



เดอะชาโดว์
เป็นชื่อของวงดนตรีวงหนึ่ง เกิดในประเทศอังกฤษ ได้รับความนิยมไปทั่วโลก เป็นวงดนตรียนาดเล็ก เครื่องดนตรีที่นำมาใช้ในการผสมวงมีเพียงกีต้าร์ไฟฟ้า เบสไฟฟ้า และกลองชุดเท่านั้น นักดนตรีเป็นผู้ขับร้องเพลงเอง บทเพลงที่บรรเลงจะเป็นเพลงร็อคเป็นส่วนใหญ่ เป็นดนตรีที่มีเสียงดัง สนุกสนาน เร้าใจ ดนตรีร็อคสร้างอยู่บนพื้นฐานอัตราจังหวะชนิด 4 จังหวะเคาะ ลักษณะเฉพาะลีลาจังหวะร็อค คือ เน้นความดังเป็นพิเศษในจังหวะที่ 2 และ 4 ของห้องเพลง ซึ่งแต่เดิมดนตรีต่างๆ ที่เกิดขึ้นก่อนดนตรีร็อค จะนิยมเน้นในจังหวะที่ 1 และ 3 ของห้องเพลง ด้วยอิทธิพลของความนิยมในวงเดอะชาโดว์ ทำให้วงดนตรีอื่นๆ ที่ใช้รูปแบบการประสมวง และการบรรเลงเพลงในลักษณะเดียวกันกับวงเดอะชาโดว์ ถูกเรียกว่าวงดนตรีชาโดว์ไปด้วย


อ้างอิง : คลิก


_________________________________________________________________________________





    วงดนตรีประเภทแจ๊สหรือตระกูลแจ๊สเกิดจากพวกทาสชาวนิโกร เมืองนิวออร์ลีน รัฐโอไฮโอ แถบฝั่งแม่น้ำมิสซิสซิปปีประเทศสหรัฐอเมริกาหลังจากที่พวกเขาเหล่านั้นได้ถูกใช้งานเยี่ยงทาส ชาวผิวดำต้องทำงานหนักและถูกกดขี่ข่มเหงจากชาวผิวขาวอย่างหนัก เมื่อมีเวลาว่างจากการทำงานก็มารวมกลุ่มกันร้องรำทำเพลง ใช้เครื่องดนตรีง่าย ๆ เพื่อให้หายเหน็ดเหนื่อยจากการทำงาน เป็นการผ่อนคลายอารมณ์ จึงเกิดเป็นดนตรีแจ๊สขึ้น ต่อมาได้รับความนิยมไปทั่วโลกและเกิดดนตรีแจ๊สขึ้นในหลายลักษณะ ได้แก่ บลูแจ๊ส (Blue Jazz) นิวออร์ลีนและดิ๊กซี่แลนด์สไตล์ (New Orlean and Dixieland Style) โมเดิ้ลสไตล์ (Modern Style) และป๊อปสไตล์ (Pop Style) เป็นต้น
             วงดนตรีสากลประเภทวงแจ๊ส เป็นวงดนตรีที่ใช้บรรเลงเพื่อความสนุกสนาน ตลอดจนใช้ประกอบการเต้นรำ ลีลาศ รำวง ส่วนบทเพลงที่ใช้บรรเลงมีทั้งบทเพลงประเภทบรรเลงโดยเฉพาะ และบทเพลงร้องทั่ว ๆ ไป เช่น เพลงแจ๊ส เพลงสากล เพลงไทยสากล เพลงไทยลูกทุ่ง เป็นต้น ส่วนเครื่องดนตรีที่ใช้จัดวงแจ๊สประกอบด้วย
                    1.1   เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้ (woodwind instruments) ได้แก่
1)         อีแฟลตอัลโตแซกโซโฟน (Eb Alto Saxophone)   2)   บีแฟลตเทเนอร์แซกโซโฟน (Bb Tenor Saxophone)
3)         อีแฟลตบราริโทนแซกโซโฟน (Eb Baritone Saxophone)  4)    บีแฟลตคลาริเนต (Bb Clarinet)
5)         ฟลุต (Flute)

                    1.2   เครื่องดนตรีประเภทเครื่องโลหะหรือพวกแตร ได้แก่
                             1)  บีแฟลตทรัมเป็ต (Bb Trumpet)
                             2)  สไลด์ทรอมโบน (Slide Trombone)
ทรัมเป็ต (Trumpet)

ทรอมโบน (Trombone)

                    1.3   เครื่องดนตรีประเภทเครื่องคีย์บอร์ด ได้แก่ เปียโน (Piano) หรือ ออร์แกน (Organ)
เปียโน (Piano)                            ออร์แกน (Organ)

                    1.4   เครื่องดนตรีประเภทเครื่องไฟฟ้า ได้แก่ กีตาร์ไฟฟ้า กีตาร์เบสไฟฟ้า เปียโนหรือออร์แกนไฟฟ้า
            กีตาร์ไฟฟ้า (Electric Guitar)        กีตาร์เบสไฟฟ้า (Bass Guitar)

                    1.5   เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีหรือเครื่องประกอบจังหวะ ได้แก่ กลองชุด

อ้างอิง : คลิก

_________________________________________________________________________________




กลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 มีแตรวง เป็นวงดนตรีขนาดย่อม ประกอบด้วยเครื่องเป่าทองเหลือง และเครื่องกระทบ ในยุโรปสมัยกลางฝ่ายทหารใช้ปี่ชอร์ม (Shawms) และทรัมเป็ต ร่วมกับกลองในการเดินทัพออกสมรภูมิ ต่อมาก็เกิดการแบ่งออกเป็นสองพวก ทหารราบใช้ปิคโคโลกับกลอง ส่วนทหารม้านั้นใช้ทรัมเป็ตกับกลองหนัง
จนเกิดสงคราม 30 ปี ในยุโรป (ค.ศ. 1618-1648) เจ้านายเยอรมันแห่งแบรนแดนเบิร์กให้จัดตั้งโยธวาทิตทหารขึ้น มีปี่ชอร์ม 3 คัน แตร ทรัมเป็ต แตรฝรั่งเศส และเครื่องกระทบ กลายเป็นโยธวาทิตที่ใช้ได้ทั้งการเดินทัพและนั่งบรรเลงกับที่ ต่อมาทั้งฝรั่งเศส และอังกฤษมีการใช้และดัดแปลงให้โยธวาทิตมีความครึกครื้นมากขึ้น โดยมีการแต่งเพลงขึ้นเฉพาะสำหรับการบรรเลงด้วยโยธวาทิต
หลังศตวรรษที่ 18 มีเครื่องดนตรีเกิดใหม่ โดยเฉพาะเครื่องเป่า เช่น โอโบ คลาริเน็ต บาสซูน เข้ามามีบทบาทมากขึ้นและเพลงที่โยธวาทิตใช้บรรเลงเริ่มมีการนำเพลงบรรเลงของวงออร์เคสตรามาดัดแปลงให้โยธวาทิตนำมาบรรเลง และการนั่งบรรเลงเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น

อ้างอิง : คลิก

_________________________________________________________________________________


ความเป็นมา
            แตรวง   เป็นเครื่องดนตรีที่อยู่ในวงดนตรีที่ผสมด้วยเครื่องดนตรี(เป่า,ตี)   ชนิดต่างๆเพียงสองตระกูลเท่านั้น    วงดนตรีในลักษณะนี้เหมาะสำหรับใช้บรรเลงนำในการเดินแถวในทุกสภาพท้องถิ่นเพราะแตรเป็นเครื่องดนตรีที่สร้างขึ้นด้วยโลหะ  และไม่มีส่วนประกอบที่กระจุกกระจิกเหมือนเครื่องดนตรีอื่นๆ    ทนต่อการโยกย้ายหรือหอบหิ้วไปได้โดยสะดวก
ปัจจุบันแตรวงได้มีการพัฒนาการเป็น 2  รูปแบบคือ
1.แตรวงที่พัฒนาเป็นวงโยธวาธิตที่ใช้ในกิจกรรมของกองทัพ   และตามโรงเรียนมัธยม    มีรูปแบบในการบรรเลง    เช่นใช้โน้ตเพลงที่แยกกันแต่ละชิ้น    มีการประสานเสียง
2.แตรวงพื้นบ้านที่ใช้ในกิจกรรมชาวบ้าน   ในการแห่ประกอบงานรื่นเริง    งานบวช    งานสมโภช   งานบุญต่างๆ    โดยบรรเลงแบบวงปี่พาทย์   คือใช้บทเพลงที่ใช้กับวงดนตรีทั่วไป    โดยเน้นความสนุกสนานแตรวงพื้นบ้านจะมีเครื่องดนตรีไม่มากนัก   เครื่องดนตรีที่ใช้จะเป็นจำพวกแตร   การฝึกหัดก็จะใช้การถ่ายทอดสืบต่อกันมาไม่มีการดูโน้ตเพลง
ในเวลาการบรรเลงต้องอาศัยการจดจำ     นั่งล้อมวงกันบรรเลงแตรวงจึงเป็นการละเล่นพื้นบ้านในการดำรงชีวิต ของชาวบ้าน    ผู้ที่เล่นทั้งชายและหญิงทุกวัย   ตั้งแต่เด็กหนุ่มสาวผู้ใหญ่ไปจนถึงผู้สูงอายุตามโอกาส
เครื่องดนตรีในแตรวง
เครื่องดนตรีในแตรวงประกอบด้วยเครื่องดนตรีในกลุ่มใหญ่   2  กลุ่มคือ
1.กลุ่มเครื่องเป่า
2.กลุ่มเครื่องตี
วิธีการเล่น
            กลุ่มที่1 กลุ่มเครื่องเป่าลมทองเหลือง
-การ หยิบ  จับ  เก็บ   วางและการรักษาเครื่องดนตรี
-การใช้กำพวด
-การหายใจและเม้มปาก
-การดัดลิ้น

อ้างอิง : คลิกa





วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2558

วงดนตรีสากล International Band

                        โครงงานดนตรี


 เรื่อง วงดนตรีสากล International Band


กลุ่มสาระ ศิลปะ-ดนตรี

  

จัดทำโดย

1 . ด.ช.กิตติศักดิ์ ทับทิมดำ ชั้น ม2/1 เลขที่ 1



2 . ด.ช.ณรงค์ฤทธิ์   คำภู ชั้น ม2/1 เลขที่ 2



3 . ด.ญ.เมขลา  แก้วโสม  ชั้น ม2/1 เลขที่ 13



4 . ด.ญ.รัตนาวดี ภูมิสถาน ชั้น ม2/1 เลขที่ 14



5 . ด.ญ.อรทัย บริบูรณ์ ชั้น2/1 เลขที่ 21




 รายวิชาโครงงาน ศิลปะ-ดนตรี(ศ22102)


ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557


โรงเรียนหนองบัวบานวิทยา ตำบลหนองบัวบาน อำเภอจัตรัส จังหวัดชัยภูมิ

สำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษาเขต 30 

 ___________________________________________________________________

 บทคัทย่อ


 วงดนตรี คือ คนกลุ่มๆหนึ่ง ที่นำเครื่องดนตรีหลายชนิดมาบนนเลงด้วยกัน จนเกิดเป็นบทเพลง ไพเราะ


น่าฟัง พอได้ฟังแล้วจึงรู้สึกผ่อนคลาย วงดนตรีสากลแบ่งออกเป็น 8 ประเภทคือ



1. วงแชมเบอร์มิวสิค (Chamber Music)

2. วงซิมโฟนี  ออร์เคสตร้า (Symphony Orchestra)

3.วงป๊อปปูลามิวสิค (Popular Music) หรือ วงดนตรีลีลาศ

4.วงคอมโบ (Combo  band) หรือ สตริงคอมโบ

5.วงชาร์โด (Shadow)

6.วงแจ๊ส (Jazz)

7.วงโยธวาทิต  ( Military  Band )

8.แตรวง  (Brass  Band )



 ______________________________________________________________________


 กิตติกรรมประกาศ



    โครงงานวิชาดนตรีฉบับ จะสำเร็จไม่ได้ หากไม่ได้รับความกรุณาจาก ครูปัญจรัสติ์ สุจำนงค์ และขอ



ขอบคุณคณะครูโรงเรียนหนองบัวบานวิทยาทุกท่าน ที่มีส่วนช่วยพลักดันความรู้ จนประสบผลสำเร็จ



ขอบคุณเพื่อนๆ ที่ช่วยแนะนำเรื่องเกี่ยวกับโครงงานจนประสบผลสำเร็จได้ และขอขอบคุณผู้สนับสนุน



ด้านอื่นๆ รวมทั้ง บิดามารดา ครูอาจาร์ ที่ทำให้ผลฉบับสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี จึงขอขอบคุณมา ณ ที่นี้







                                                                                               คณะผู้จัดทำ

                                                                                             ด.ช.กิตติศักดิ์ ทับทิมดำ

                                                                                            ด.ช.ณรงค์ฤทธิ์   คำภู

                                                                                             ด.ญ.เมขลา  แก้วโสม  

                                                                                                ด.ญ.รัตนาวดี ภูมิสถาน

                                                                                            ด.ญ.อรทัย บริบูรณ์





 ____________________________________________________________________



สารบัญ

 บทคัทย่อ                                                                                                                           ก

กิตติกรรมประกาศ                                                                                                              ข

สารบัญ                                                                                                                               ค

บทที่ 1 บทนำ                                                                                                                     1

บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง                                                                                                 2

บทที่ 3 วิธีดำเนินโครงงาน                                                                                                  3

บทที่ 4 ผลการดำเนินโครงงาน                                                                                          4

บทที่ 5 สรุปผลการดำเนินโครงงาน ข้อเสนอแนะ                                                               5

บรรณานุกรม                                                                                                                     6

ภาคผนวก                                                                                                                          7

ข้อมูลผู้จัดทำ                                                                                                                     8


                                                                                                
                                                                                                                                                             



________________________________________________________________________

บทที่ 1

บทนำ

   1.1 แนวคิด ที่มา และความสำคัญ

    ดนตรีก่อเกิดเพราะการได้ยินเสียงจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวของมนุษย์ มีการรับรู้ เลียนแบบ ศึกษาจังหวะ ระดับเสียง ความดัง-เบา ความกลมกลืนและแตกต่างของเสียงแต่ละประเภท จากใกล้ตัวที่สุดคือชีพจรการเต้นของหัวใจ การเคลื่อนไหวร่างกาย ไปถึงเสียงจากธรรมชาติและสัตว์นานา



      การ กำเนิดของเครื่องดนตรีเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยโบราณ โดยมนุษย์รู้จักการสร้างเครื่องดนตรีง่ายๆ จากธรรมชาติรอบข้างคือ เริ่มจากการปรบมือผิวปาก เคาะหิน หรือนำกิ่งไม้มาตีกันซึ่งต่อมาได้มีการสร้างเครื่องดนตรีที่มี

รูป ทรงลักษณะต่างๆ ที่แตกต่างกันไปในแต่ละชนชาติ โดยมีการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมและลักษณะเครื่องดนตรีของชนชาติต่างๆ โดยเฉพาะเครื่องดนตรีสากลที่เป็นเครื่องดนตรีของชาวตะวันตกที่นำมาเล่นกัน แพร่หลายในปัจจุบัน สำหรับการกำเนิดของดนตรีตะวันตกนั้นมาจากเครื่องดนตรีของชนชาติกรีกโบราณที่ สร้างเครื่องดนตรีขึ้นมา 3 ชนิดคือ ไลรา คีธารา และออโรสจนต่อมามีการพัฒนาสร้างเครื่องดนตรีประเภทต่างๆ ทั้งประเภทเครื่องสายเครื่องเป่า เครื่องทองเหลือง เครื่องตี และเครื่องดีดหรือเครื่องเคาะ เช่นไวโอลิน ฟลุต ทรัมเป็ต กลองชุด กีตาร์ ฯลฯโดยพบเครื่องดนตรีสากลได้ในวงดนตรีสากลประเภทต่างๆ ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน

   การสืบสาวเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นมาของดนตรีตั้งแต่สมัยโบราณมา นับว่าเป็นเรื่องยากที่จะให้ได้เรื่องราว สมัยของการรู้จักใช้อักษรหรือสัญลักษณ์อื่นๆ  เพึ่งจะมีปรากฏและเริ่มนิยมใช้กันในสมัยเริ่มต้นของยุค  Middle  age  คือระหว่างศตวรรษที่ 5-6   และการบันทึกมีเพียงเครื่องหมายแสดงเพียงระดับของเสียง  และจังหวะ    ( Pitch  and   time )    ดนตรี เกิดขึ้นมาในโลกพร้อมๆกับมนุษย์เรานั่นเอง  ในยุคแรกๆมนุษย์อาศัยอยู่ในป่าดง  ในถ้ำ   ในโพรงไม้   แต่ก็รู้จักการร้องรำทำเพลงตามธรรมชาติ   เช่นรู้จักปรบมือ  เคาะหิน  เคาะไม้  เป่าปาก  เป่าเขา  และเปล่งเสียงร้องตามเรื่อง  การร้องรำทำเพลงไปเพื่ออ้อนวอนพระเจ้าเพื่อช่วยให้ตนพ้นภัย   บันดาลความสุขความอุดมสมบูรณ์ต่างๆให้แก่ตน   หรือเป็นการบูชาแสดงความขอบคุณพระเจ้าที่บันดาลให้ตนมีความสุขความสบาย

         โลกได้ผ่านหลายยุคหลายสมัย  ดนตรีได้วิวัฒนาการไปตามความเจริญและความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์  เครื่องดนตรีที่เคยใช้ในสมัยเริ่มแรกก็มีการวิวัฒนาการมาเป็นขั้นๆ  กลายเป็นเครื่องดนตรี   ที่เราเห็นอยู่ทุกวัน   เพลงที่ร้องเพื่ออ้อนวอนพระเจ้า  ก็กลายมาเป็นเพลงสวดทางศาสนา   และเพลงร้องโดยทั่วๆไป

         ในระยะแรก  ดนตรีมีเพียงเสียงเดียวและแนวเดียวเท่านั้นเรียกว่า  Melody    ไม่มีการประสานเสียง  จนถึงศตวรรษที่ 12  มนุษย์เราเริ่มรู้จักการใช้เสียงต่างๆมาประสานกันอย่างง่ายๆ  เกิดเป็นดนตรีหลายเสียงขึ้นมา

          การศึกษาวิชาประวัติดนตรีตะวันตกหลายคนคงคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัวเหลือเกิน และมักมีคำถามเสมอว่าจะศึกษาไปทำไมคำตอบก็คือ ดนตรีตะวันตกเป็นรากเหง้าของดนตรีที่เราได้ยินได้ฟังกันทุกวันนี้ ความเป็นมาของดนตรีหรือประวัติศาสตร์ดนตรีนั้นหมายถึงการมองย้อนหลังไปใน อดีตเพื่อพยายามทำความเข้าใจกับแง่มุมต่าง ๆ ของอดีตในแต่ละสมัยนับเวลาย้อนกลับไปเป็นเวลาหลายพันปีจากสภาพสังคมที่แวด ล้อมทัศนะคติและรสนิยมของผู้สร้างสรรค์และผู้ฟังดนตรีในแต่ละสมัยนั้นแตก ต่างกันอย่างไรจากการลองผิดลองถูกลองแล้วลองอีกการจินตนาการตามแนวคิดของผู้ ประพันธ์เพลงจนกระทั่งกลั่นกรองออกมาเป็นเพลงให้ผู้คนได้ฟังกันจนถึง ปัจจุบันนี้

       การศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์หรือการมองย้อนกลับไปในอดีตนั้นนอกจาก เป็นไปเพื่อความสุขใจในการได้ศึกษาเรียนรู้และรับทราบเรื่องราวของอดีตโดย ตรงแล้วยังเป็นการศึกษา เป็นแนวทางเพื่อทำความเข้าใจดนตรีที่เกิดขึ้นและการเปลี่ยนแปลงในแง่ของ ดนตรีในปัจจุบันและเพื่อนำมาใช้ในการทำนายหรือคาดเดาถึงแนวโน้มของดนตรีใน อนาคตด้วย กล่าวถึงประวัติดนตรีตะวันตกซึ่งแบ่งออกเป็นสมัยต่าง ๆ ได้ 9 สมัย ดังนี้ (ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2534 : 133)

1. สมัยกรีก (Ancient Greek music)

2. สมัยโรมัน (Roman)

3. สมัยกลาง (The Middle Ages)

4. สมัยรีเนซองส์ (The Renaissance)

5. สมัยบาโรก (The Baroque Age)

6. สมัยคลาสสิก (The Classical Period)

7. สมัยโรแมนติก (The Romantic Period)

8. สมัยอิมเพรชชั่นนิสติค (The Impressionistic)

9. สมัยศตวรรษที่ 20 และปัจจุบัน (The Twentieth century)

         การสืบสาวเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นมาของดนตรีตั้งแต่สมัยโบราณมา นับว่าเป็นเรื่องยากที่จะให้ได้เรื่องราว สมัยของการรู้จักใช้อักษรหรือสัญลักษณ์อื่นๆ  เพึ่งจะมีปรากฏและเริ่มนิยมใช้กันในสมัยเริ่มต้นของยุค  Middle   age    คือระหว่างศตวรรษที่ 5-6   และการบันทึกมีเพียงเครื่องหมายแสดงเพียงระดับของเสียง  และจังหวะ    ( Pitch  and   time )    ดนตรีเกิดขึ้นมาในโลกพร้อมๆกับมนุษย์เรานั่นเอง  ในยุคแรกๆมนุษย์อาศัยอยู่ในป่าดง  ในถ้ำ   ในโพรงไม้   แต่ก็รู้จักการร้องรำทำเพลงตามธรรมชาติ   เช่นรู้จักปรบมือ  เคาะหิน  เคาะไม้  เป่าปาก  เป่าเขา  และเปล่งเสียงร้องตามเรื่อง  การร้องรำทำเพลงไปเพื่ออ้อนวอนพระเจ้าเพื่อช่วยให้ตนพ้นภัย   บันดาลความสุขความอุดมสมบูรณ์ต่างๆให้แก่ตน   หรือเป็นการบูชาแสดงความขอบคุณพระเจ้าที่บันดาลให้ตนมีความสุขความสบาย

         โลกได้ผ่านหลายยุคหลายสมัย  ดนตรีได้วิวัฒนาการไปตามความเจริญและความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์  เครื่องดนตรีที่เคยใช้ในสมัยเริ่มแรกก็มีการวิวัฒนาการมาเป็นขั้นๆ  กลายเป็นเครื่องดนตรี   ที่เราเห็นอยู่ทุกวัน   เพลงที่ร้องเพื่ออ้อนวอนพระเจ้า  ก็กลายมาเป็นเพลงสวดทางศาสนา   และเพลงร้องโดยทั่วๆไป

         ในระยะแรก  ดนตรีมีเพียงเสียงเดียวและแนวเดียวเท่านั้นเรียกว่า  Melody    ไม่มีการประสานเสียง  จนถึงศตวรรษที่ 12  มนุษย์เราเริ่มรู้จักการใช้เสียงต่างๆมาประสานกันอย่างง่ายๆ  เกิดเป็นดนตรีหลายเสียงขึ้นมา







ยุคต่างๆของดนตรีสากล

         นักปราชญ์ทางดนตรีได้แบ่งดนตรีสากลออกเป็นยุคต่างๆดังนี้



         1. Polyphonic  Perio (ค.ศ. 1200-1650)  ยุคนี้เป็นยุคแรก  วิวัฒนาการมาเรื่อยๆ  จนมีแบบฉบับและหลักวิชการดนตรีขึ้น  วงดนตรีอาชีพตามโบสถ์ ตามบ้านเจ้านาย และมีโรงเรียนสอนดนตรี

         2. Baroque  Period  (ค.ศ. 1650-1750)  ยุคนี้วิชาดนตรีได้เป็นปึกแผ่น  มีแบบแผนการเจริญด้านนาฏดุริยางค์    มีมากขึ้น  มีโรงเรียนสอนเกี่ยวกับอุปรากร  (โอเปร่า)  เกิดขึ้น  มีนักดนตรีเอกของโลก 2 ท่านคือ  J.S. Bach   และ    G.H.   Handen

         3.Classical  Period ( ค.ศ. 1750-1820 )  ยุคนี้เป็นยุคที่ดนตรีเริ่มเข้าสู่ยุคใหม่  มีความรุ่งเรืองมากขึ้น  มีนักดนตรีเอก 3 ท่านคือ  HaydnGluck   และMozart

         4. Romantic Period  ( ค.ศ. 1820-1900 )  ยุคนี้มีการใช้เสียงดนตรีที่เน้นถึงอารมณ์อย่างเด่นชัดเป็นยุคที่ดนตรีเจริญถึงขีดสุด เรียกว่ายุคทองของดนตรี นักดนตรีเช่น Beetoven และคนอื่นอีกมากมาย

         5.Modern  Period  ( ค.ศ. 1900-ปัจจุบัน ) เป็นยุคที่ดนตรีเปลี่ยนแปลงไปมาก  ดนตรีประเภทแจ๊ส (Jazz) กลับมามีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆจนถึงปัจจุบัน

         ขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละชาติ  ศาสนา  โดยเฉพาะทางดนตรีตะวันตก   นับว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับศาสนามาก      บทเพลงที่เกี่ยวกับศาสนาหรือเรียกว่าเพลงวัดนั้น  ได้แต่งขึ้นอย่างถูกหลักเกณฑ์    ตามหลักวิชาการดนตรี  ผู้แต่งเพลงวัดต้องมีความรู้ความสามารถสูง  เพราะต้องแต่งขึ้นให้สามารถโน้มน้าวจิตใจผู้ฟังให้นิยมเลื่อมใสในศาสนามากขึ้น  ดังนั้นบทเพลงสวดในศาสนาคริสต์จึงมีเสียงดนตรีประโคมประกอบการสวดมนต์   เมื่อมีบทเพลงเกี่ยวกับศาสนามากขึ้น  เพื่อเป็นการป้องกันการลืมจึงได้มีผู้ประดิษฐ์สัญลักษณ์ต่างๆแทนทำนอง  เมื่อประมาณ ค.ศ.  1000  สัญลักษณ์ดังกล่าวคือ  ตัวโน้ต ( Note )  นั่นเอง  โน้ตเพลงที่ใช้ในหลักวิชาดนตรีเบื้องต้นเป็นเสียงโด  เร  มี นั้น  เป็นคำสวดในภาษาละติน   จึงกล่าวได้ว่าวิชาดนตรีมีจุดกำเนิดมาจากวัดหรือศาสนา  ซึ่งในยุโรปนั้นถือว่าเพลงเกี่ยวกับศาสนานั้นเป็นเพลงชั้นสูงสุด

         วงดนตรีที่เกิดขึ้นในศตวรรษต้นๆจนถึงปัจจุบัน  จะมีลักษณะแตกต่างกันออกไป  เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงก็มีจำนวนและชนิดแตกต่างกันตามสมัยนิยม  ลักษณะการผสมวงจะแตกต่างกันไป  เมื่อผสมวงด้วยเครื่องดนตรีที่ต่างชนิดกัน  หรือจำนวนของผู้บรรเลงที่ต่างกันก็จะมีชื่อเรียกวงดนตรีต่างกัน









1.2 วัตถุประสงค์

    1.21   เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับวงดนตรีสากล

    1.2.2  เพื่อบอกประวัติความเป็นมาของวงดนตรีสากล







1.3 ขอบเขตของโครงงาน

     เพื่อให้ได้ผลการศึกษาที่น่าเชื่อถือ  นักเรียนต้องกําหนดขอบเขตการทําโครงงานซึ่งได้แก่ การกําหนดประชากรว่าเป็นสิ่งมีชีวิต หรือสิ่งไม่มีชีวิต  ระบุชื่อ กลุ่ม ประเภท แหล่งที่อยู่/ผลิต และช่วงเวลาที่ทําการทดลอง เช่น เดือน ปี  รวมทั้งกําหนดกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดเหมาะสมเป็นตัวแทนของประชากรที่สนใจศึกษา  และกําหนดตัวแปรที่ศึกษา  ตัวแปรใดที่ศึกษาเป็นตัวแปรต้น ตัวแปรใดที่ศึกษาเป็นตัวแปรตาม และตัวแปรใดบ้างเป็นตัวแปรควบคุมเพื่อเป็นแนวทางการออกแบบการทดลอง ตลอดจนมีผลต่อการเขียนรายงานการทําโครงงานฯ  ที่ถูกต้อง สื่อความหมายให้ผู้ฟังและผู้อ่านเข้าใจตรงกัน









1.4  ผลที่คาดว่าจะได้รับ 

1.4.1 ได้รู้จักประเภทของวงดนตรีสากล

1.4.2 ได้รู้จักประโยชน์ของวงดนตรีสากล





_________________________________________________________________________

บทที่ 2

 เอกสารที่เกี่ยวข้อง 


ในการจัดทำโครงงานดนตรี เรื่องวงดนตรีสากล นี้  ผู้จัดทำโครงงานได้ศึกษาเอกสารและจากเว็บไซต์ต่างๆ   ที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้



2.1 ความสำดัญของโครงงานดนตรี เรื่องวงดนตรีสากล

    โครงงานดนตรี คือ ผลงานที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าตามความสนใจ ความถนัดและความสามารถของผู้เรียน โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ โครงงานจึงเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยผู้เรียนจะหาหัวข้อโครงงานที่ตนเองสนใจ รวมทั้งเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ และความรู้ด้านศิลปะ-ดนตรี เพื่อสร้างผลงานตามความต้องการได้อย่างเหมาะสม โดยมีครูเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำ ความสามารถที่เกิดจากการทำโครงงานดนตรี

โครงดนตรีเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความสามารถในด้านต่าง ๆ



 2.2 ข้อมูลและหลักการเกี่ยวกับการพัฒนาโครงงานดนตรี

   โครงงานดนตรีเป็นการนำความรู้ด้านการสืบค้น หรือการหาข้อมูลโดยการใช้สื่อ เพื่อผลิตผลงานสำหรับการแก้ปัญหา หรือนำผลงานมาประยุกต์ในงานจริง การทำโครงงานจะต้องใช้ความรู้ ประสบการณ์ และการศึกษาค้นคว้า เพื่อวางแผนและดำเนินการพัฒนา โดยสามารถเลือกใช้เครื่องมือพัฒนา หนังสือดนตรีที่ประยุกต์หรืออุปกรณ์ช่วยเหลือตามความเหมาะสมของชิ้นงาน ทั้งนี้ควรขอคำปรึกษาจากครูผู้สอน หรือผู้ทรงคุณวุฒิ เป้าหมายสูงสุดของการทำโครงงานคือ การนำโครงงานไปใช้งาน และก่อให้เกิดประโยชน์ในชีวิตจริง  



2.3 เอกสารที่เกี่ยวข้อง

                2.4.1อินเทอร์เน็ต  WWW.GOOGLE. COM   ได้แก่  ได้รู้จักเครื่องดนตรีสากลและประเภทของเครื่อง  ดนตรีสากล ที่ถูกต้อง

2.4  โครงงานที่เกี่ยวข้อง  

 ผลของการฟังเสียงประกอบดนตรีที่มีต่อความเข้าใจในการฟัง





_________________________________________________________________________


                                                                    บทที่ 3


วิธีดำเนินโครงงาน



     ในการจัดทำโครงงานดนตรีร์  เรื่องวงดนตรีสากลนี้ นี้  ผู้จัดทำโครงงานมีวิธีดำเนินงานโครงงาน ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

3.1 วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือหรือโปรแกรมหรือที่ใช้ในการพัฒนา

                5.2.2.1  Note book Sumsung

                5.2.2.2  ระบบปฏิบัติการวินโดว์  วินโดวส์เซเว่น (Window 7 )

                3.1.3  โปรแกรม DeskTop Author                5.1.3

              3.1.4  Microsoft Office PowerPoint 2012

              3.1.5  Microsoft Office Word 2012

3.2 ขั้นตอนการดำเนินงาน            

3.2.1  คิดหัวข้อโครงงานเพื่อนำเสนอครูที่ปรึกษาโครงงา

3.2.2  ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจ คือเรื่องวงดนตรีสากล ว่ามีเนื้อหามากน้อยเพียงใด และต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพียงใดจากเว็บไซต์ต่างๆ และเก็บข้อมูลไว้เพื่อจัดทำเนื้อหาต่อไป

 3.2.3  ศึกษาการพัฒนาโครงงาน เรื่องวงดนตรีสากลที่สร้าง จากเอกสารที่ครูประจำวิชากำหนด และจากเว็บไซต์ต่างๆ ที่นำเสนอเกี่ยวกับจัดทำโครงงาน

 3.2.4  จัดทำโครงร่างโครงงานดนตรีเพื่อนำเสนอครูที่ปรึกษา

 3.2.5  ปฏิบัติการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์  เรื่องวงดนตรีสากล โดยการปฏิบัติงานตามแบบเสนอโครงร่างที่เสนอไว้แล้ว

 3.2.6 จัดทำเอกสารรายงานโครงดนตรีสากลโดยนำเสนอในรูปแบบ PowerPoint

 3.2.7 ประเมินผลงาน โดยการนำเสนอผ่านบอร์ด และรูปเล่ม       

 3.2.8 นำเสนอผ่านหน้าชั้นเรียน



  
____________________________________________________________________





       











         



บทที่ 4



ผลการดำเนินงานโครงงาน



 การจัดทำโครงงานดนตรี  เรื่องวงดนตรีสากลนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นคว้าเรื่องที่สนใจเกี่ยวกับวงดนตรีสากล และประเภทของวงดนตรีสากลขึ้น เพื่อให้ผู้จัดทำโครงงานสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการเรียนรู้ของตนเองมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีผลการดำเนินงานโครงงาน ดังนี้

4.1 ผลการโครงงานดนตรี  เรื่องวงดนตรีสากล

                การพัฒนาโครงงานดนตรี  เรื่องวงดนตรีสากลนี้ ผู้จัดทำได้เริ่มดำเนินงานตามขั้นตอนการดำเนินงานที่เสนอในบทที่ 3 แล้ว จากนั้นได้นำเสนอเผยแพร่ผลงานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา โดยได้นำเผยแพร่ที่เว็บไซต์  http://apiwat13.blogspot.com/  โดยทั้งครูที่ปรึกษา เพื่อนๆในห้องเรียนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ โดยแสดงความเห็นในเนื้อหาและรูปแบบของการนำเสนออย่างหลากหลาย ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้และเป็นแหล่งเรียนรู้ในโลกออนไลน์อย่างหลากหลายและรวดเร็ว

4.2  ตัวอย่างการพัฒนาโครงงาน  เรื่องเครื่องดนตรีไทย



_________________________________________________________________________

บทที่ 5

สรุปผลการดำเนินงาน และข้อเสนอแนะ

                การจัดทำโครงงานเรื่องวงดนตรีนี้ สามารถสรุปผลการดำเนินโครงงาน และข้อเสนอแนะ ดังนี้
5.1  การดำเนินงานจัดทำโครงงาน
        5.1.1 วัตถุประสงค์ของโครงงาน            
            5.1.1.1  เพื่อให้รู้เกี่ยวกับดนตรีไทย
            5.1.1.2  เพื่อบอกประโยชน์ของการฟังเพลงจากวงดนตรีสากล
    5.1.1.3  บอกวิธีการเล่นวงดนตรีสากล
        5.2.2 วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือหรือโปรแกรมหรือที่ใช้ในการพัฒนา
                5.2.2.1  Note book Sumsung
                5.2.2.2  ระบบปฏิบัติการวินโดว์ วินโดวส์เซเว่น(Window 7 )
                5.2.2.3  โปรแกรม DeskTop Author 5.1.3
                3.2.2.4  Microsoft Office PowerPoint 2012
                3.2.2.5  Microsoft Office Word 2012

5.2 สรุปผลการดำเนินงานโครงงาน
                การพัฒนาโครงงานดนตรี เรื่องวงดนตรีสากลนี้ ผู้จัดทำได้เริ่มดำเนินงานตามขั้นตอนการดำเนินงานที่เสนอในบทที่ 3 แล้ว จากนั้นได้นำเสนอเผยแพร่ผลงานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา โดยได้นำเผยแพร่ ที่หน้าชั้นเรียน    ทั้งนี้เว็บไซต์ดังกล่าว สามารถจัดการและเชื่อมต่อกับเว็บไซต์อื่นๆ ได้เป็นอย่างดี โดยทั้งครูที่ปรึกษา เพื่อนๆในห้องเรียนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ โดยแสดงความเห็นในเนื้อหาและรูปแบบของการนำเสนออย่างหลากหลาย ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้และเป็นแหล่งเรียนรู้ในโลกออนไลน์อย่างหลากหลายและรวดเร็ว
       5.3 ข้อเสนอแนะ  ( ข้อเสนอแนะนี้ นักเรียนสามารถคิดเสนอแนะได้ ถ้าการเรียนรู้แบบนี้ไม่ดี ไม่เหมาะสม นักเรียนแจ้งหรือเสนอแนะตรงนี้ได้เลย)
              5.3.1  ข้อเสนอแนะทั่วไป
              5.3.2  ปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการพัฒนา                                                        



____________________________________________________________________

บรรณานุกรม







_________________________________________________________________________
ภาคผนวก

   วงดนตรีสากลมีความซับซ้อนมาก วงดนตรีสากล 1 ประเภท หากมีจำนวนคนเพิ่มขึ้นก็จะมีชื่อเปลี่ยนไป ดังนั้นเราควรศึกษาให้ดี หากเรามีใจรักจริงๆ เช่น
วงแชมเบอร์มิวสิค (Chamber Music)

จำนวนผู้บรรเลง 2 คน เรียกว่า ดูโอ (Duo)

จำนวนผู้บรรเลง 3 คน เรียกว่า ทรีโอ (Trio)

จำนวนผู้บรรเลง 4 คน เรียกว่า ควอเตท (Quartet)

จำนวนผู้บรรเลง 5 คน เรียกว่า ควินเตท (Quintet)

จำนวนผู้บรรเลง 6 คน เรียกว่า เซกซ์เตท (Sextet)

จำนวนผู้บรรเลง 7 คน เรียกว่า เซปเตท (Septet)

จำนวนผู้บรรเลง 8 คน เรียกว่า ออกเตท (Octet)

จำนวนผู้บรรเลง 9 คน เรียกว่า โนเนท (Nonet)

วงซิมโฟนี  ออร์เคสตร้า (Symphony Orchestra)


การเรียกชื่อ จะต้องบอกชนิดของเครื่องดนตรี และ จำนวนของผู้เล่นเสมอ เช่น 

วงสตริงทรีโอ (String Trio)  มี  ไวโอลิน 1 คัน วิโอลา 1 คัน และ เชลโล 1 คัน

วงสตริงควอเตท (String Quartet)  มี  ไวโอลิน 2 คัน วิโอลา 1 คัน และ เชลโล 1 คัน

วงสตริงควินเตท (String Quintet) มี ไวโอลิน 2 คัน วิโอลา 1 คัน เชลโล 1 คัน และ ดับเบิลเบส 1 คัน
วูดวินควินเตท (Wood -Wind Quintet) ประกอบด้วย เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้ 5 คน

เป็นต้น

____________________________________________________________________

ข้อมูลผู้จัดทำ

ด.ช.กิตติศักดิ์ ทับทิมดำ
ด.ช.ณรงค์ฤทธิ์   คำภู

ด.ญ.เมขลา  แก้วโสม  

ด.ญ.รัตนาวดี ภูมิสถาน

ด.ญ.อรทัย บริบูรณ์

ทั้ง 5 คน ศึกษาอยู่ โรงเรียน หนองบัวบานวิทยา ในปีการศึกษา 2557 ได้ศึกษาอยู่ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 จังหวัด ชัยภูมิ