วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2558

วงดนตรีสากล International Band

                        โครงงานดนตรี


 เรื่อง วงดนตรีสากล International Band


กลุ่มสาระ ศิลปะ-ดนตรี

  

จัดทำโดย

1 . ด.ช.กิตติศักดิ์ ทับทิมดำ ชั้น ม2/1 เลขที่ 1



2 . ด.ช.ณรงค์ฤทธิ์   คำภู ชั้น ม2/1 เลขที่ 2



3 . ด.ญ.เมขลา  แก้วโสม  ชั้น ม2/1 เลขที่ 13



4 . ด.ญ.รัตนาวดี ภูมิสถาน ชั้น ม2/1 เลขที่ 14



5 . ด.ญ.อรทัย บริบูรณ์ ชั้น2/1 เลขที่ 21




 รายวิชาโครงงาน ศิลปะ-ดนตรี(ศ22102)


ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557


โรงเรียนหนองบัวบานวิทยา ตำบลหนองบัวบาน อำเภอจัตรัส จังหวัดชัยภูมิ

สำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษาเขต 30 

 ___________________________________________________________________

 บทคัทย่อ


 วงดนตรี คือ คนกลุ่มๆหนึ่ง ที่นำเครื่องดนตรีหลายชนิดมาบนนเลงด้วยกัน จนเกิดเป็นบทเพลง ไพเราะ


น่าฟัง พอได้ฟังแล้วจึงรู้สึกผ่อนคลาย วงดนตรีสากลแบ่งออกเป็น 8 ประเภทคือ



1. วงแชมเบอร์มิวสิค (Chamber Music)

2. วงซิมโฟนี  ออร์เคสตร้า (Symphony Orchestra)

3.วงป๊อปปูลามิวสิค (Popular Music) หรือ วงดนตรีลีลาศ

4.วงคอมโบ (Combo  band) หรือ สตริงคอมโบ

5.วงชาร์โด (Shadow)

6.วงแจ๊ส (Jazz)

7.วงโยธวาทิต  ( Military  Band )

8.แตรวง  (Brass  Band )



 ______________________________________________________________________


 กิตติกรรมประกาศ



    โครงงานวิชาดนตรีฉบับ จะสำเร็จไม่ได้ หากไม่ได้รับความกรุณาจาก ครูปัญจรัสติ์ สุจำนงค์ และขอ



ขอบคุณคณะครูโรงเรียนหนองบัวบานวิทยาทุกท่าน ที่มีส่วนช่วยพลักดันความรู้ จนประสบผลสำเร็จ



ขอบคุณเพื่อนๆ ที่ช่วยแนะนำเรื่องเกี่ยวกับโครงงานจนประสบผลสำเร็จได้ และขอขอบคุณผู้สนับสนุน



ด้านอื่นๆ รวมทั้ง บิดามารดา ครูอาจาร์ ที่ทำให้ผลฉบับสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี จึงขอขอบคุณมา ณ ที่นี้







                                                                                               คณะผู้จัดทำ

                                                                                             ด.ช.กิตติศักดิ์ ทับทิมดำ

                                                                                            ด.ช.ณรงค์ฤทธิ์   คำภู

                                                                                             ด.ญ.เมขลา  แก้วโสม  

                                                                                                ด.ญ.รัตนาวดี ภูมิสถาน

                                                                                            ด.ญ.อรทัย บริบูรณ์





 ____________________________________________________________________



สารบัญ

 บทคัทย่อ                                                                                                                           ก

กิตติกรรมประกาศ                                                                                                              ข

สารบัญ                                                                                                                               ค

บทที่ 1 บทนำ                                                                                                                     1

บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง                                                                                                 2

บทที่ 3 วิธีดำเนินโครงงาน                                                                                                  3

บทที่ 4 ผลการดำเนินโครงงาน                                                                                          4

บทที่ 5 สรุปผลการดำเนินโครงงาน ข้อเสนอแนะ                                                               5

บรรณานุกรม                                                                                                                     6

ภาคผนวก                                                                                                                          7

ข้อมูลผู้จัดทำ                                                                                                                     8


                                                                                                
                                                                                                                                                             



________________________________________________________________________

บทที่ 1

บทนำ

   1.1 แนวคิด ที่มา และความสำคัญ

    ดนตรีก่อเกิดเพราะการได้ยินเสียงจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวของมนุษย์ มีการรับรู้ เลียนแบบ ศึกษาจังหวะ ระดับเสียง ความดัง-เบา ความกลมกลืนและแตกต่างของเสียงแต่ละประเภท จากใกล้ตัวที่สุดคือชีพจรการเต้นของหัวใจ การเคลื่อนไหวร่างกาย ไปถึงเสียงจากธรรมชาติและสัตว์นานา



      การ กำเนิดของเครื่องดนตรีเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยโบราณ โดยมนุษย์รู้จักการสร้างเครื่องดนตรีง่ายๆ จากธรรมชาติรอบข้างคือ เริ่มจากการปรบมือผิวปาก เคาะหิน หรือนำกิ่งไม้มาตีกันซึ่งต่อมาได้มีการสร้างเครื่องดนตรีที่มี

รูป ทรงลักษณะต่างๆ ที่แตกต่างกันไปในแต่ละชนชาติ โดยมีการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมและลักษณะเครื่องดนตรีของชนชาติต่างๆ โดยเฉพาะเครื่องดนตรีสากลที่เป็นเครื่องดนตรีของชาวตะวันตกที่นำมาเล่นกัน แพร่หลายในปัจจุบัน สำหรับการกำเนิดของดนตรีตะวันตกนั้นมาจากเครื่องดนตรีของชนชาติกรีกโบราณที่ สร้างเครื่องดนตรีขึ้นมา 3 ชนิดคือ ไลรา คีธารา และออโรสจนต่อมามีการพัฒนาสร้างเครื่องดนตรีประเภทต่างๆ ทั้งประเภทเครื่องสายเครื่องเป่า เครื่องทองเหลือง เครื่องตี และเครื่องดีดหรือเครื่องเคาะ เช่นไวโอลิน ฟลุต ทรัมเป็ต กลองชุด กีตาร์ ฯลฯโดยพบเครื่องดนตรีสากลได้ในวงดนตรีสากลประเภทต่างๆ ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน

   การสืบสาวเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นมาของดนตรีตั้งแต่สมัยโบราณมา นับว่าเป็นเรื่องยากที่จะให้ได้เรื่องราว สมัยของการรู้จักใช้อักษรหรือสัญลักษณ์อื่นๆ  เพึ่งจะมีปรากฏและเริ่มนิยมใช้กันในสมัยเริ่มต้นของยุค  Middle  age  คือระหว่างศตวรรษที่ 5-6   และการบันทึกมีเพียงเครื่องหมายแสดงเพียงระดับของเสียง  และจังหวะ    ( Pitch  and   time )    ดนตรี เกิดขึ้นมาในโลกพร้อมๆกับมนุษย์เรานั่นเอง  ในยุคแรกๆมนุษย์อาศัยอยู่ในป่าดง  ในถ้ำ   ในโพรงไม้   แต่ก็รู้จักการร้องรำทำเพลงตามธรรมชาติ   เช่นรู้จักปรบมือ  เคาะหิน  เคาะไม้  เป่าปาก  เป่าเขา  และเปล่งเสียงร้องตามเรื่อง  การร้องรำทำเพลงไปเพื่ออ้อนวอนพระเจ้าเพื่อช่วยให้ตนพ้นภัย   บันดาลความสุขความอุดมสมบูรณ์ต่างๆให้แก่ตน   หรือเป็นการบูชาแสดงความขอบคุณพระเจ้าที่บันดาลให้ตนมีความสุขความสบาย

         โลกได้ผ่านหลายยุคหลายสมัย  ดนตรีได้วิวัฒนาการไปตามความเจริญและความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์  เครื่องดนตรีที่เคยใช้ในสมัยเริ่มแรกก็มีการวิวัฒนาการมาเป็นขั้นๆ  กลายเป็นเครื่องดนตรี   ที่เราเห็นอยู่ทุกวัน   เพลงที่ร้องเพื่ออ้อนวอนพระเจ้า  ก็กลายมาเป็นเพลงสวดทางศาสนา   และเพลงร้องโดยทั่วๆไป

         ในระยะแรก  ดนตรีมีเพียงเสียงเดียวและแนวเดียวเท่านั้นเรียกว่า  Melody    ไม่มีการประสานเสียง  จนถึงศตวรรษที่ 12  มนุษย์เราเริ่มรู้จักการใช้เสียงต่างๆมาประสานกันอย่างง่ายๆ  เกิดเป็นดนตรีหลายเสียงขึ้นมา

          การศึกษาวิชาประวัติดนตรีตะวันตกหลายคนคงคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัวเหลือเกิน และมักมีคำถามเสมอว่าจะศึกษาไปทำไมคำตอบก็คือ ดนตรีตะวันตกเป็นรากเหง้าของดนตรีที่เราได้ยินได้ฟังกันทุกวันนี้ ความเป็นมาของดนตรีหรือประวัติศาสตร์ดนตรีนั้นหมายถึงการมองย้อนหลังไปใน อดีตเพื่อพยายามทำความเข้าใจกับแง่มุมต่าง ๆ ของอดีตในแต่ละสมัยนับเวลาย้อนกลับไปเป็นเวลาหลายพันปีจากสภาพสังคมที่แวด ล้อมทัศนะคติและรสนิยมของผู้สร้างสรรค์และผู้ฟังดนตรีในแต่ละสมัยนั้นแตก ต่างกันอย่างไรจากการลองผิดลองถูกลองแล้วลองอีกการจินตนาการตามแนวคิดของผู้ ประพันธ์เพลงจนกระทั่งกลั่นกรองออกมาเป็นเพลงให้ผู้คนได้ฟังกันจนถึง ปัจจุบันนี้

       การศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์หรือการมองย้อนกลับไปในอดีตนั้นนอกจาก เป็นไปเพื่อความสุขใจในการได้ศึกษาเรียนรู้และรับทราบเรื่องราวของอดีตโดย ตรงแล้วยังเป็นการศึกษา เป็นแนวทางเพื่อทำความเข้าใจดนตรีที่เกิดขึ้นและการเปลี่ยนแปลงในแง่ของ ดนตรีในปัจจุบันและเพื่อนำมาใช้ในการทำนายหรือคาดเดาถึงแนวโน้มของดนตรีใน อนาคตด้วย กล่าวถึงประวัติดนตรีตะวันตกซึ่งแบ่งออกเป็นสมัยต่าง ๆ ได้ 9 สมัย ดังนี้ (ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2534 : 133)

1. สมัยกรีก (Ancient Greek music)

2. สมัยโรมัน (Roman)

3. สมัยกลาง (The Middle Ages)

4. สมัยรีเนซองส์ (The Renaissance)

5. สมัยบาโรก (The Baroque Age)

6. สมัยคลาสสิก (The Classical Period)

7. สมัยโรแมนติก (The Romantic Period)

8. สมัยอิมเพรชชั่นนิสติค (The Impressionistic)

9. สมัยศตวรรษที่ 20 และปัจจุบัน (The Twentieth century)

         การสืบสาวเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นมาของดนตรีตั้งแต่สมัยโบราณมา นับว่าเป็นเรื่องยากที่จะให้ได้เรื่องราว สมัยของการรู้จักใช้อักษรหรือสัญลักษณ์อื่นๆ  เพึ่งจะมีปรากฏและเริ่มนิยมใช้กันในสมัยเริ่มต้นของยุค  Middle   age    คือระหว่างศตวรรษที่ 5-6   และการบันทึกมีเพียงเครื่องหมายแสดงเพียงระดับของเสียง  และจังหวะ    ( Pitch  and   time )    ดนตรีเกิดขึ้นมาในโลกพร้อมๆกับมนุษย์เรานั่นเอง  ในยุคแรกๆมนุษย์อาศัยอยู่ในป่าดง  ในถ้ำ   ในโพรงไม้   แต่ก็รู้จักการร้องรำทำเพลงตามธรรมชาติ   เช่นรู้จักปรบมือ  เคาะหิน  เคาะไม้  เป่าปาก  เป่าเขา  และเปล่งเสียงร้องตามเรื่อง  การร้องรำทำเพลงไปเพื่ออ้อนวอนพระเจ้าเพื่อช่วยให้ตนพ้นภัย   บันดาลความสุขความอุดมสมบูรณ์ต่างๆให้แก่ตน   หรือเป็นการบูชาแสดงความขอบคุณพระเจ้าที่บันดาลให้ตนมีความสุขความสบาย

         โลกได้ผ่านหลายยุคหลายสมัย  ดนตรีได้วิวัฒนาการไปตามความเจริญและความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์  เครื่องดนตรีที่เคยใช้ในสมัยเริ่มแรกก็มีการวิวัฒนาการมาเป็นขั้นๆ  กลายเป็นเครื่องดนตรี   ที่เราเห็นอยู่ทุกวัน   เพลงที่ร้องเพื่ออ้อนวอนพระเจ้า  ก็กลายมาเป็นเพลงสวดทางศาสนา   และเพลงร้องโดยทั่วๆไป

         ในระยะแรก  ดนตรีมีเพียงเสียงเดียวและแนวเดียวเท่านั้นเรียกว่า  Melody    ไม่มีการประสานเสียง  จนถึงศตวรรษที่ 12  มนุษย์เราเริ่มรู้จักการใช้เสียงต่างๆมาประสานกันอย่างง่ายๆ  เกิดเป็นดนตรีหลายเสียงขึ้นมา







ยุคต่างๆของดนตรีสากล

         นักปราชญ์ทางดนตรีได้แบ่งดนตรีสากลออกเป็นยุคต่างๆดังนี้



         1. Polyphonic  Perio (ค.ศ. 1200-1650)  ยุคนี้เป็นยุคแรก  วิวัฒนาการมาเรื่อยๆ  จนมีแบบฉบับและหลักวิชการดนตรีขึ้น  วงดนตรีอาชีพตามโบสถ์ ตามบ้านเจ้านาย และมีโรงเรียนสอนดนตรี

         2. Baroque  Period  (ค.ศ. 1650-1750)  ยุคนี้วิชาดนตรีได้เป็นปึกแผ่น  มีแบบแผนการเจริญด้านนาฏดุริยางค์    มีมากขึ้น  มีโรงเรียนสอนเกี่ยวกับอุปรากร  (โอเปร่า)  เกิดขึ้น  มีนักดนตรีเอกของโลก 2 ท่านคือ  J.S. Bach   และ    G.H.   Handen

         3.Classical  Period ( ค.ศ. 1750-1820 )  ยุคนี้เป็นยุคที่ดนตรีเริ่มเข้าสู่ยุคใหม่  มีความรุ่งเรืองมากขึ้น  มีนักดนตรีเอก 3 ท่านคือ  HaydnGluck   และMozart

         4. Romantic Period  ( ค.ศ. 1820-1900 )  ยุคนี้มีการใช้เสียงดนตรีที่เน้นถึงอารมณ์อย่างเด่นชัดเป็นยุคที่ดนตรีเจริญถึงขีดสุด เรียกว่ายุคทองของดนตรี นักดนตรีเช่น Beetoven และคนอื่นอีกมากมาย

         5.Modern  Period  ( ค.ศ. 1900-ปัจจุบัน ) เป็นยุคที่ดนตรีเปลี่ยนแปลงไปมาก  ดนตรีประเภทแจ๊ส (Jazz) กลับมามีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆจนถึงปัจจุบัน

         ขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละชาติ  ศาสนา  โดยเฉพาะทางดนตรีตะวันตก   นับว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับศาสนามาก      บทเพลงที่เกี่ยวกับศาสนาหรือเรียกว่าเพลงวัดนั้น  ได้แต่งขึ้นอย่างถูกหลักเกณฑ์    ตามหลักวิชาการดนตรี  ผู้แต่งเพลงวัดต้องมีความรู้ความสามารถสูง  เพราะต้องแต่งขึ้นให้สามารถโน้มน้าวจิตใจผู้ฟังให้นิยมเลื่อมใสในศาสนามากขึ้น  ดังนั้นบทเพลงสวดในศาสนาคริสต์จึงมีเสียงดนตรีประโคมประกอบการสวดมนต์   เมื่อมีบทเพลงเกี่ยวกับศาสนามากขึ้น  เพื่อเป็นการป้องกันการลืมจึงได้มีผู้ประดิษฐ์สัญลักษณ์ต่างๆแทนทำนอง  เมื่อประมาณ ค.ศ.  1000  สัญลักษณ์ดังกล่าวคือ  ตัวโน้ต ( Note )  นั่นเอง  โน้ตเพลงที่ใช้ในหลักวิชาดนตรีเบื้องต้นเป็นเสียงโด  เร  มี นั้น  เป็นคำสวดในภาษาละติน   จึงกล่าวได้ว่าวิชาดนตรีมีจุดกำเนิดมาจากวัดหรือศาสนา  ซึ่งในยุโรปนั้นถือว่าเพลงเกี่ยวกับศาสนานั้นเป็นเพลงชั้นสูงสุด

         วงดนตรีที่เกิดขึ้นในศตวรรษต้นๆจนถึงปัจจุบัน  จะมีลักษณะแตกต่างกันออกไป  เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงก็มีจำนวนและชนิดแตกต่างกันตามสมัยนิยม  ลักษณะการผสมวงจะแตกต่างกันไป  เมื่อผสมวงด้วยเครื่องดนตรีที่ต่างชนิดกัน  หรือจำนวนของผู้บรรเลงที่ต่างกันก็จะมีชื่อเรียกวงดนตรีต่างกัน









1.2 วัตถุประสงค์

    1.21   เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับวงดนตรีสากล

    1.2.2  เพื่อบอกประวัติความเป็นมาของวงดนตรีสากล







1.3 ขอบเขตของโครงงาน

     เพื่อให้ได้ผลการศึกษาที่น่าเชื่อถือ  นักเรียนต้องกําหนดขอบเขตการทําโครงงานซึ่งได้แก่ การกําหนดประชากรว่าเป็นสิ่งมีชีวิต หรือสิ่งไม่มีชีวิต  ระบุชื่อ กลุ่ม ประเภท แหล่งที่อยู่/ผลิต และช่วงเวลาที่ทําการทดลอง เช่น เดือน ปี  รวมทั้งกําหนดกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดเหมาะสมเป็นตัวแทนของประชากรที่สนใจศึกษา  และกําหนดตัวแปรที่ศึกษา  ตัวแปรใดที่ศึกษาเป็นตัวแปรต้น ตัวแปรใดที่ศึกษาเป็นตัวแปรตาม และตัวแปรใดบ้างเป็นตัวแปรควบคุมเพื่อเป็นแนวทางการออกแบบการทดลอง ตลอดจนมีผลต่อการเขียนรายงานการทําโครงงานฯ  ที่ถูกต้อง สื่อความหมายให้ผู้ฟังและผู้อ่านเข้าใจตรงกัน









1.4  ผลที่คาดว่าจะได้รับ 

1.4.1 ได้รู้จักประเภทของวงดนตรีสากล

1.4.2 ได้รู้จักประโยชน์ของวงดนตรีสากล





_________________________________________________________________________

บทที่ 2

 เอกสารที่เกี่ยวข้อง 


ในการจัดทำโครงงานดนตรี เรื่องวงดนตรีสากล นี้  ผู้จัดทำโครงงานได้ศึกษาเอกสารและจากเว็บไซต์ต่างๆ   ที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้



2.1 ความสำดัญของโครงงานดนตรี เรื่องวงดนตรีสากล

    โครงงานดนตรี คือ ผลงานที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าตามความสนใจ ความถนัดและความสามารถของผู้เรียน โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ โครงงานจึงเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยผู้เรียนจะหาหัวข้อโครงงานที่ตนเองสนใจ รวมทั้งเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ และความรู้ด้านศิลปะ-ดนตรี เพื่อสร้างผลงานตามความต้องการได้อย่างเหมาะสม โดยมีครูเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำ ความสามารถที่เกิดจากการทำโครงงานดนตรี

โครงดนตรีเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความสามารถในด้านต่าง ๆ



 2.2 ข้อมูลและหลักการเกี่ยวกับการพัฒนาโครงงานดนตรี

   โครงงานดนตรีเป็นการนำความรู้ด้านการสืบค้น หรือการหาข้อมูลโดยการใช้สื่อ เพื่อผลิตผลงานสำหรับการแก้ปัญหา หรือนำผลงานมาประยุกต์ในงานจริง การทำโครงงานจะต้องใช้ความรู้ ประสบการณ์ และการศึกษาค้นคว้า เพื่อวางแผนและดำเนินการพัฒนา โดยสามารถเลือกใช้เครื่องมือพัฒนา หนังสือดนตรีที่ประยุกต์หรืออุปกรณ์ช่วยเหลือตามความเหมาะสมของชิ้นงาน ทั้งนี้ควรขอคำปรึกษาจากครูผู้สอน หรือผู้ทรงคุณวุฒิ เป้าหมายสูงสุดของการทำโครงงานคือ การนำโครงงานไปใช้งาน และก่อให้เกิดประโยชน์ในชีวิตจริง  



2.3 เอกสารที่เกี่ยวข้อง

                2.4.1อินเทอร์เน็ต  WWW.GOOGLE. COM   ได้แก่  ได้รู้จักเครื่องดนตรีสากลและประเภทของเครื่อง  ดนตรีสากล ที่ถูกต้อง

2.4  โครงงานที่เกี่ยวข้อง  

 ผลของการฟังเสียงประกอบดนตรีที่มีต่อความเข้าใจในการฟัง





_________________________________________________________________________


                                                                    บทที่ 3


วิธีดำเนินโครงงาน



     ในการจัดทำโครงงานดนตรีร์  เรื่องวงดนตรีสากลนี้ นี้  ผู้จัดทำโครงงานมีวิธีดำเนินงานโครงงาน ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

3.1 วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือหรือโปรแกรมหรือที่ใช้ในการพัฒนา

                5.2.2.1  Note book Sumsung

                5.2.2.2  ระบบปฏิบัติการวินโดว์  วินโดวส์เซเว่น (Window 7 )

                3.1.3  โปรแกรม DeskTop Author                5.1.3

              3.1.4  Microsoft Office PowerPoint 2012

              3.1.5  Microsoft Office Word 2012

3.2 ขั้นตอนการดำเนินงาน            

3.2.1  คิดหัวข้อโครงงานเพื่อนำเสนอครูที่ปรึกษาโครงงา

3.2.2  ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจ คือเรื่องวงดนตรีสากล ว่ามีเนื้อหามากน้อยเพียงใด และต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพียงใดจากเว็บไซต์ต่างๆ และเก็บข้อมูลไว้เพื่อจัดทำเนื้อหาต่อไป

 3.2.3  ศึกษาการพัฒนาโครงงาน เรื่องวงดนตรีสากลที่สร้าง จากเอกสารที่ครูประจำวิชากำหนด และจากเว็บไซต์ต่างๆ ที่นำเสนอเกี่ยวกับจัดทำโครงงาน

 3.2.4  จัดทำโครงร่างโครงงานดนตรีเพื่อนำเสนอครูที่ปรึกษา

 3.2.5  ปฏิบัติการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์  เรื่องวงดนตรีสากล โดยการปฏิบัติงานตามแบบเสนอโครงร่างที่เสนอไว้แล้ว

 3.2.6 จัดทำเอกสารรายงานโครงดนตรีสากลโดยนำเสนอในรูปแบบ PowerPoint

 3.2.7 ประเมินผลงาน โดยการนำเสนอผ่านบอร์ด และรูปเล่ม       

 3.2.8 นำเสนอผ่านหน้าชั้นเรียน



  
____________________________________________________________________





       











         



บทที่ 4



ผลการดำเนินงานโครงงาน



 การจัดทำโครงงานดนตรี  เรื่องวงดนตรีสากลนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นคว้าเรื่องที่สนใจเกี่ยวกับวงดนตรีสากล และประเภทของวงดนตรีสากลขึ้น เพื่อให้ผู้จัดทำโครงงานสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการเรียนรู้ของตนเองมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีผลการดำเนินงานโครงงาน ดังนี้

4.1 ผลการโครงงานดนตรี  เรื่องวงดนตรีสากล

                การพัฒนาโครงงานดนตรี  เรื่องวงดนตรีสากลนี้ ผู้จัดทำได้เริ่มดำเนินงานตามขั้นตอนการดำเนินงานที่เสนอในบทที่ 3 แล้ว จากนั้นได้นำเสนอเผยแพร่ผลงานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา โดยได้นำเผยแพร่ที่เว็บไซต์  http://apiwat13.blogspot.com/  โดยทั้งครูที่ปรึกษา เพื่อนๆในห้องเรียนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ โดยแสดงความเห็นในเนื้อหาและรูปแบบของการนำเสนออย่างหลากหลาย ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้และเป็นแหล่งเรียนรู้ในโลกออนไลน์อย่างหลากหลายและรวดเร็ว

4.2  ตัวอย่างการพัฒนาโครงงาน  เรื่องเครื่องดนตรีไทย



_________________________________________________________________________

บทที่ 5

สรุปผลการดำเนินงาน และข้อเสนอแนะ

                การจัดทำโครงงานเรื่องวงดนตรีนี้ สามารถสรุปผลการดำเนินโครงงาน และข้อเสนอแนะ ดังนี้
5.1  การดำเนินงานจัดทำโครงงาน
        5.1.1 วัตถุประสงค์ของโครงงาน            
            5.1.1.1  เพื่อให้รู้เกี่ยวกับดนตรีไทย
            5.1.1.2  เพื่อบอกประโยชน์ของการฟังเพลงจากวงดนตรีสากล
    5.1.1.3  บอกวิธีการเล่นวงดนตรีสากล
        5.2.2 วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือหรือโปรแกรมหรือที่ใช้ในการพัฒนา
                5.2.2.1  Note book Sumsung
                5.2.2.2  ระบบปฏิบัติการวินโดว์ วินโดวส์เซเว่น(Window 7 )
                5.2.2.3  โปรแกรม DeskTop Author 5.1.3
                3.2.2.4  Microsoft Office PowerPoint 2012
                3.2.2.5  Microsoft Office Word 2012

5.2 สรุปผลการดำเนินงานโครงงาน
                การพัฒนาโครงงานดนตรี เรื่องวงดนตรีสากลนี้ ผู้จัดทำได้เริ่มดำเนินงานตามขั้นตอนการดำเนินงานที่เสนอในบทที่ 3 แล้ว จากนั้นได้นำเสนอเผยแพร่ผลงานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา โดยได้นำเผยแพร่ ที่หน้าชั้นเรียน    ทั้งนี้เว็บไซต์ดังกล่าว สามารถจัดการและเชื่อมต่อกับเว็บไซต์อื่นๆ ได้เป็นอย่างดี โดยทั้งครูที่ปรึกษา เพื่อนๆในห้องเรียนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ โดยแสดงความเห็นในเนื้อหาและรูปแบบของการนำเสนออย่างหลากหลาย ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้และเป็นแหล่งเรียนรู้ในโลกออนไลน์อย่างหลากหลายและรวดเร็ว
       5.3 ข้อเสนอแนะ  ( ข้อเสนอแนะนี้ นักเรียนสามารถคิดเสนอแนะได้ ถ้าการเรียนรู้แบบนี้ไม่ดี ไม่เหมาะสม นักเรียนแจ้งหรือเสนอแนะตรงนี้ได้เลย)
              5.3.1  ข้อเสนอแนะทั่วไป
              5.3.2  ปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการพัฒนา                                                        



____________________________________________________________________

บรรณานุกรม







_________________________________________________________________________
ภาคผนวก

   วงดนตรีสากลมีความซับซ้อนมาก วงดนตรีสากล 1 ประเภท หากมีจำนวนคนเพิ่มขึ้นก็จะมีชื่อเปลี่ยนไป ดังนั้นเราควรศึกษาให้ดี หากเรามีใจรักจริงๆ เช่น
วงแชมเบอร์มิวสิค (Chamber Music)

จำนวนผู้บรรเลง 2 คน เรียกว่า ดูโอ (Duo)

จำนวนผู้บรรเลง 3 คน เรียกว่า ทรีโอ (Trio)

จำนวนผู้บรรเลง 4 คน เรียกว่า ควอเตท (Quartet)

จำนวนผู้บรรเลง 5 คน เรียกว่า ควินเตท (Quintet)

จำนวนผู้บรรเลง 6 คน เรียกว่า เซกซ์เตท (Sextet)

จำนวนผู้บรรเลง 7 คน เรียกว่า เซปเตท (Septet)

จำนวนผู้บรรเลง 8 คน เรียกว่า ออกเตท (Octet)

จำนวนผู้บรรเลง 9 คน เรียกว่า โนเนท (Nonet)

วงซิมโฟนี  ออร์เคสตร้า (Symphony Orchestra)


การเรียกชื่อ จะต้องบอกชนิดของเครื่องดนตรี และ จำนวนของผู้เล่นเสมอ เช่น 

วงสตริงทรีโอ (String Trio)  มี  ไวโอลิน 1 คัน วิโอลา 1 คัน และ เชลโล 1 คัน

วงสตริงควอเตท (String Quartet)  มี  ไวโอลิน 2 คัน วิโอลา 1 คัน และ เชลโล 1 คัน

วงสตริงควินเตท (String Quintet) มี ไวโอลิน 2 คัน วิโอลา 1 คัน เชลโล 1 คัน และ ดับเบิลเบส 1 คัน
วูดวินควินเตท (Wood -Wind Quintet) ประกอบด้วย เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้ 5 คน

เป็นต้น

____________________________________________________________________

ข้อมูลผู้จัดทำ

ด.ช.กิตติศักดิ์ ทับทิมดำ
ด.ช.ณรงค์ฤทธิ์   คำภู

ด.ญ.เมขลา  แก้วโสม  

ด.ญ.รัตนาวดี ภูมิสถาน

ด.ญ.อรทัย บริบูรณ์

ทั้ง 5 คน ศึกษาอยู่ โรงเรียน หนองบัวบานวิทยา ในปีการศึกษา 2557 ได้ศึกษาอยู่ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 จังหวัด ชัยภูมิ













4 ความคิดเห็น: